วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555




      ช้างแมมมอธ เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อ 20,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ยุคหินล่า มีขนยาวปกคลุมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น มีงายาวและโค้ง การค้นพบซากแมมมอธ สามารถนำมาศึกษาวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เพราะแมมมอธเคยผ่านช่วงเวลานั้นมา พ.ศ. 2550 ได้มีการพบซากลูกช้างสูง 130 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ใกล้กับแม่น้ำยูริเบ ในเขตปกครองตนเอง 
ยามาล - เนเน็ต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของไซบีเรีย 













       สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา ค้นพบซากช้างแมมมอธ ช้างดึกดำบรรพ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วหลายหมื่นปี บริเวณแถบทุรกันดารของไซบีเรีย โดยซากช้างแมมมอธที่พบ ยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากซากฝังอยู่ในน้ำแข็งและสภาพอากาศที่หนาวจัด
ฮือฮา! โลกค้นพบซากแมมมอธสภาพสมบูรณ์ศ.แดเนียล ฟิชเชอร์ ศาสตราจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน เปิดเผยว่า ซากช้างแมมมอธดังกล่าว ถูกค้นพบโดยชาวท้องถิ่นในไซบีเรีย ก่อนจะถูกส่งมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าต่อ โดยซากช้างแมมมอธตัวดังกล่าว มีอายุประมาณ 2-3 ปี คาดว่าเสียชีวิตจากการล่าของมนุษย์ยุคน้ำแข็ง หรือถูกสิงโตหิมะทำร้าย เนื่องจากมีร่องรอยการถูกทำร้ายโจมตี
นอกจากนี้ซากช้างแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์นี้ ยังคงสภาพขนสีน้ำตาลบลอนด์สตอเบอร์รีที่ปกคลุมร่าง ซึ่งมีการตั้งชื่อไว้ว่า "ยูกะ" ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ได้เผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้ชม ผ่านรายการสารคดีทางสถานีโทรทัศน์บีบีซี นับเป็นการค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ของโลก และในอนาคตอาจนำพาไปสู่้การชุบชีวิตขึ้นมาใหม่ให้กับ ช้างแมมมอธ